วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ชุดการสอนรายวิชาธรรมวินัย เรื่องไตรสิกขา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
จัดทำโดย
นายเนตรตะวัน โสมนาม
เลขที่ 11 รหัสประจำตัว 517190011
โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา วัดถ้ำสิงโตทอง
อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
คำนำ
ชุดการสอนนเรื่อง “ไตรสิกขา” นี้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อจะช่วยครูผู้สอนวิชาธรรมวินัย ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ในเรื่องไตรสิกขา ซึ่งนักเรียนจะพบเห็นอยู่ในบทเรียนอยู่เสมอ ๆ แต่มีบทละนิดบทละหน่อย ทำให้เกิดความสับสนเพราะไม่ได้เรียนอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้น จึงมีพื้นฐานที่ไม่ค่อยดีนัก เมื่อเรียนแล้วก็จะลืมเลือนไป ข้าพเจ้าจึงได้รวบรวมความรู้ต่าง ๆ ในเรื่องไตรสิกขาตามเนื้อหาที่นักเรียนควรจะต้องทราบ นำมาจัดทำเป็นชุดการสอนนี้ขึ้นเพื่อเป็นการสรุปเนื้อหาประกอบกับวิธีการ ซึ่งจะทำให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนักเรียนจะได้ปฏิบัติจริงสามารถค้นพบความรู้ได้ด้วยตนเอง และเกิดความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้
ชุดการสอนนี้จัดเป็นแบบศูนย์การเรียน รายละเอียดการใช้ชุดการสอนได้นำมาเสนอไว้ในคู่มือครูแล้ว ข้าพเจ้าจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุดการสอนเรื่อง “ไตรสิกขา” นี้ คงจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในวิชาธรรมวินัยพอสมควร


เนตรตะวัน โสมนาม



คู่มือครู

ชุดการสอนวิชาธรรมวินัย เรื่อง “ไตรสิกขา”

ส่วนประกอบของชุดการสอน
1. บทเรียน จัดเป็นศูนย์การเรียน 3 ศูนย์ และแต่ละศูนย์มีส่วนประกอบดังนี้
ศูนย์ที่ 1 ความหมายของไตรสิกขา ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
ศูนย์ที่ 2 องค์ประกอบของไตรสิกขา ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
ศูนย์ที่ 3 ประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พร้อมกระดาษคำตอบ

คำชี้แจงสำหรับครู
1. ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม (ดูสิ่งที่ครูต้องเตรียม)
2. ครูจัดชั้นเรียนและจัดวางสื่อการสอน ตามข้อเสนอแนะ

แผนผังการจัดชั้นเรียน

1
โต๊ะครู
2
3


3. ครูศึกษาเนื้อหาที่ต้องสอนให้ละเอียดพอสมควร และศึกษาชุดการสอนให้รอบคอบ
4. ก่อนสอนครูต้องเตรียมชุดการสอนไว้บนโต๊ะให้เรียบร้อยและให้เพียงพอกับนักเรียนแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนจะได้รับคนละ 1 ชุด ยกเว้นแต่สื่อการสอนที่ต้องใช้ร่วมกัน
5. ก่อนสอนครูจะต้องให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเสียก่อน ตรวจดูแบบทดสอบพร้อมทั้งกระดาษคำตอบให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน
6. ก่อนสอนครูต้องชี้แจงให้นักเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทของนักเรียนในการใช้ชุดการสอน (ดูบทบาทนักเรียน)
7. เมื่อทันทีที่นักเรียนทุกคนประกอบกิจกรรม ครูไม่ควรพูดเสียงดัง หากมีอะไรจะพูดต้องพูดเป็นรายบุคคล ต้องไม่รบกวนกิจกรรมของนักเรียนคนอื่น
8. ขณะที่นักเรียนประกอบกิจกรรม ครูต้องเดินดูการทำงานของนักเรียนแต่ละคนอย่างใกล้ชิด หากมีนักเรียนคนใดมีปัญหา ครูควรจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือจนปัญหานั้นคลี่คลาย
9. หากมีนักเรียนคนใดทำงานช้าจนเกินไป ครูต้องดึงออกมาทำกิจกรรมพิเศษ โดยหากิจกรรมให้เหมาะสมกับนักเรียนที่เรียนช้า
10. ถ้านักเรียนคนใดทำงานได้เร็วจนเกินไป ครูก็ควรให้ไปทำกิจกรรมพิเศษที่เตรียมไว้สำหรับนักเรียนที่เรียนเร็ว
11. การเปลี่ยนกิจกรรมกระทำได้เมื่อ
1) เปลี่ยนพร้อมกันทุกคน หากทำกิจกรรมเสร็จพร้อมกัน
2) หากมีคนใดเสร็จก่อน โดยคนอื่นยังไม่เสร็จก็ให้คนที่เสร็จก่อนเปลี่ยนไปยังศูนย์อื่นต่อไป
12. ก่อนบอกให้นักเรียนเปลี่ยนศูนย์ ครูจะต้องเน้นให้นักเรียนเก็บชุดสื่อการสอนของตนเองไว้ในสภาพเรียบร้อย ห้ามถือติดมือไปด้วย และขอให้การเปลี่ยนศูนย์เป็นไปอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
13. การสรุปบทเรียนควรจะเป็นกิจกรรมร่วมของนักเรียนทุกคนหรือตัวแทนของนักเรียน
14. หลังจากสอนเรียบร้อยแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนชุดเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรียน
15. ในกรณีที่นักเรียนคนใดขาดเรียนในหน่วยใดหน่วยหนึ่ง ให้นักเรียนเรียนเป็นรายบุคคลจากชุดการสอนที่เตรียมไว้ โดยครูอาจแยกออกมาอย่างละ 1 ชุด สำหรับนักเรียนคนนั้น
16. หลังจากนักเรียนได้เรียนเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว ให้ครูเก็บกระดาษคำตอบของนักเรียนไว้ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและความก้าวหน้าของการเรียน

สิ่งที่ครูต้องเตรียม
1. ครูจะต้องตรวจชุดการสอนให้มีความครบถ้วนทุกกิจกรรม เช่น บัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พร้อมด้วยกระดาษคำตอบ

บทบาทของนักเรียน
ครูต้องชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงบทบาทของนักเรียน ดังต่อไปนี้
1. อ่านบัตรคำสั่งและปฏิบัติตามคำสั่งที่ละขั้นตอนอย่างระมัดระวัง
2. พยายามตอบคำถาม หรืออภิปรายอย่างสุดความสามารถ คำถามที่มีปรากฏไว้ในชุดการสอนไม่ใช่ข้อสอบ แต่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
3. นักเรียนต้องตั้งใจปฏิบัติงาน อภิปรายอย่างจริงจัง ไม่ก่อกวนผู้อื่น และไม่ชักชวนเพื่อให้ออกนอกลู่นอกทาง
4. เวลาเปลี่ยนศูนย์ขอให้เก็บบัตรทุกอย่าง และสื่อการสอนอื่นให้เรียบร้อย พร้อมที่นักเรียนคนอื่นจะมาใช้ได้ทันที ถ้าหากมีอะไรเกิดชำรุดเสียหายต้องรีบแจ้งให้ครูทราบทันที
5. เมื่อนักเรียนลุกจากศูนย์กิจกรรม ต้องจัดเก้าอี้ให้เรียบร้อยและเปลี่ยนไปยังอีกศูนย์หนึ่งด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย
6. นักเรียนต้องใช้ชุดการสอนอย่างระมัดระวัง
7. เนื่องจากการทำกิจกรรมแต่ละคนมีจำนวนจำกัด และต้องเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นอีก นักเรียนต้องตั้งใจทำให้เสร็จอย่างรวดเร็ว

แผนการจัดการเรียนรู้
โปรดดูหน้าต่อไป

การประเมินผล
1. ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากงานที่มอบหมายให้ทำ
3. สังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรมภายในห้อง


แผนการจัดการเรียนรู้

หน่วยที่ 9 วิชา ธรรมวินัย เรื่อง ไตรสิกขา จำนวน 1 คาบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
วันที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เวลา 13.20 – 14.10 น. ผู้สอนนายเนตรตะวัน โสมนาม
สถานที่ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา วัดถ้ำสิงโตทอง จำนวนนักเรียน 30 รูป

สาระสำคัญ
ไตรสิกขา หมายถึง ข้อที่ควรปฏิบัติ 3 ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งผู้เรียนจะต้องรู้ความหมาย องค์ประกอบ และประโยชน์ของการปฏิบัติ

จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
- นักเรียนสรุปเรื่องไตรสิกขาได้
จุดประสงค์นำทาง
- นักเรียนสรุปความหมายของไตรสิกขาได้ถูกต้อง
- นักเรียนอธิบายองค์ประกอบของไตรสิกขาได้ถูกต้อง
- นักเรียนอธิบายประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาได้ถูกต้อง

สาระการเรียนรู้
ไตรสิกขา
1. ความหมายของไตรสิกขา
2. องค์ประกอบของไตรสิกขา
3. ประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา

กระบวนการเรียนรู้
1. ขั้นตอนการอธิบายความหมายของไตรสิกขา
1.1 จัดทำชั้นเรียน โดยให้นักเรียนนั่งตามปกติ
1.2 นำเสนอสื่อ โดยนำแผ่นป้ายความหมายของไตรสิกขามาให้นักเรียนศึกษา
1.3 ครูอธิบายความหมายของไตรสิกขาและกำหนดภาระงานให้นักเรียนสรุปความหมายของไตรสิ กขาลงในใบกำหนดงานที่ 9.1
1.4 ปฏิบัติตามภาระงานภายใน 5 นาที
1.5 แลกเปลี่ยนความรู้ โดยให้นักเรียนแลกเปลี่ยนใบกำหนดงานและวิพากย์ใบงานที่ผู้เรียนสรุป
1.6 เสนอผลงาน โดยให้นักเรียนตัวแทน 1 รูป อธิบายความหมายของไตรสิกขา หน้าชั้นเรียน
1.7 ประเมินผล สรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
2. ขั้นตอนการอธิบายองค์ประกอบของไตรสิกขา
2.1 จัดทำชั้นเรียน โดยให้นักเรียนนั่งตามปกติ
2.2 นำเสนอสื่อ โดยนำแผ่นป้ายองค์ประกอบของไตรสิกขามาให้นักเรียนศึกษา 2.3 ครูอธิบายองค์ประกอบของไตรสิกขา และกำหนดภาระงานให้นักเรียนอธิบายองค์ประกอบของไตรสิกขาลงในใบกำหนดงานที่ 9.2
2.4 ปฏิบัติตามภาระงานภายใน 5 นาที
2.5 แลกเปลี่ยนความรู้ โดยให้นักเรียนแลกเปลี่ยนผลงานและวิพากย์องค์ประกอบของไตรสิกขาร่วมกัน
2.6 เสนอผลงาน โดยให้นักเรียนตัวแทน 1 รูป อธิบายองค์ประกอบของไตรสิกขา หน้าชั้นเรียน
2.7 ประเมินผล สรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
3. ขั้นตอนการอธิบายประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา
3.1 จัดทำชั้นเรียน โดยให้นักเรียนนั่งตามปกติ
3.2 นำเสนอสื่อ โดยนำแผ่นป้ายประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขามาให้นักเรียนศึกษา
3.3 ครูอธิบายประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา และกำหนดภาระงานให้นักเรียนอธิบายประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาลงในใบกำหนดงานที่ 9.3
3.4 ปฏิบัติตามภาระงานภายใน 5 นาที
3.5 สะท้อนความคิด โดยให้นักเรียนอภิปรายกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนเรื่องผลการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา
3.6 เสนอผลงาน โดยให้นักเรียนตัวแทน 1 รูป อธิบายประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา
3.7 ประเมินผล สรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา

สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1. หนังสือนวโกวาท
2. ใบกำหนดงานที่ 9.1, 9.2 และ 9.3
3. ศูนย์การเรียน เรื่องไตรสิกขา จำนวน 3 ศูนย์

การวัดผลและประเมินผล
วิธีการวัดผล
1. วัดผลจากการสรุปความหมายของไตรสิกขา ด้วยการตรวจผลการสรุปความหมาย ของไตรสิกขาตามใบกำหนดงานที่ 9.1 โดยยึดเกณฑ์ความถูกต้อง
2. วัดผลจากการอธิบายองค์ประกอบของไตรสิกขา ด้วยการตรวจผลการอธิบายองค์ประกอบของไตรสิกขาตามใบกำหนดงานที่ 9.2 โดยยึดเกณฑ์ความถูกต้อง
3. วัดผลจากการอธิบายประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ด้วยการตรวจผลการอธิบายประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาตามใบกำหนดงานที่ 9.3 โดยยึดเกณฑ์ความถูกต้อง

การประเมินผล
1. ประเมินผลการสรุปความหมายของไตรสิกขา พบว่า นักเรียน 4 รูป สรุปไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้อ่านหนังสือนวโกวาทเรื่อง ไตรสิกขา เพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
2. ประเมินผลการอธิบายองค์ประกอบของไตรสิกขา พบว่า นักเรียน 5 รูป อธิบายไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้อ่านหนังสือนวโกวาทเรื่อง ไตรสิกขา เพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
3. ประเมินผลการอธิบายประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา พบว่า นักเรียน 5 รูป อธิบายไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้อ่านหนังสือนวโกวาทเรื่อง ไตรสิกขา เพิ่มเติมนอกเวลาเรียน

บันทึกหลังการสอน
หลังจากที่สอนเสร็จแล้ว พบว่า มีนักเรียนบางรูปยังไม่เข้าใจเรื่องไตรสิกขาเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องมีการเรียนการสอนเพิ่มเติมอีก


ชุดการสอน
เรื่อง ไตรสิกขา

ศูนย์ที่ 1 ความหมายของไตรสิกขา
ศูนย์ที่ 2 องค์ประกอบของไตรสิกขา
ศูนย์ที่ 3 ประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา


บัตรคำสั่ง ศูนย์การเรียนที่ 1
ความหมายของไตรสิกขา


คำสั่ง : ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ให้ผู้เรียนอ่านบัตรเนื้อหาที่เตรียมไว้ให้
2. ทำกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในบัตรกิจกรรม
3. ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย
4. เมื่อทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้วให้เก็บสื่อการสอนทุกชิ้นเข้าที่ให้เรียบร้อยก่อนจะย้ายไปเรียนที่ศูนย์อื่น


บัตรเนื้อหา ศูนย์การเรียนที่ 1
ความหมายของไตรสิกขา

คำว่า ไตรสิกขา หมายถึง ข้อที่จะต้องศึกษา ข้อที่จะต้องปฏิบัติ 3 ประการ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอันเป็นการเสริมสร้างคุณภาพของชีวิตให้มีความเจริญก้าวหน้า


บัตรกิจกรรม ศูนย์การเรียนที่ 1
ความหมายของไตรสิกขา
คำสั่ง : ให้นักเรียนอธิบายความหมายของไตรสิกขาที่ถูกต้อง

ความหมายของไตรสิกขา

.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


บัตรเฉลย ศูนย์การเรียนที่ ๑

บัตรเฉลย ศูนย์การเรียนที่ 1
ความหมายของไตรสิกขา

ความหมายของไตรสิกขา
ไตรสิกขา มาจากคำสองคำ คือ ไตร + สิกขา
ไตร แปลว่า สาม
สิกขา คือ ข้อที่จะต้องศึกษา ข้อที่จะต้องปฏิบัติ
ไตรสิกขา หมายถึง ข้อที่จะต้องศึกษา ข้อที่จะต้องปฏิบัติ 3 ประการ

บัตรเฉลย ศูนย์การเรียนที่ ๑

บัตรคำสั่ง ศูนย์การเรียนที่ 2
องค์ประกอบของไตรสิกขา

คำสั่ง : ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ให้ผู้เรียนอ่านบัตรเนื้อหาที่เตรียมไว้ให้
2. ทำกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในบัตรกิจกรรม
3. ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย
4. เมื่อทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้วให้เก็บสื่อการสอนทุกชิ้นเข้าที่ให้เรียบร้อยก่อนจะย้ายไปเรียนที่ศูนย์อื่น

บัตรเนื้อหา ศูนย์การเรียนที่ 2
องค์ประกอบของไตรสิกขา
ไตรสิกขา มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ สีลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา ซึ่งหมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญา
1. สีลสิกขา การศึกษาเรื่องศีลฝึกฝนและปฏิบัติตนให้เรียบร้อยดีงามทางกาย วาจา ให้บริสุทธิ์ถูกต้องตามหลักของจุลศีล มัชฌิมศีล หรือมหาศีล จนสามารถรักษามารยาททางกาย วาจา ให้เรียบร้อยปราศจากโทษที่มีผลกระทบต่อตนเองและส่วนรวม
2. จิตตสิกขา การศึกษาเรื่องจิตอบรมจิตให้มั่นคงเป็นสมาธิด้วยการบำเพ็ญสมถ กัมมัฏฐาน จนสามารถบรรเทาหรือระงับนิวรณ์ คือสิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรมซึ่งมีอยู่ 5 ประการ คือ
1) กามฉันทะ ความพอใจในด้านรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส
2) พยาบาท ความคิดร้ายนานาประการ
3) ถีนมิทธะ ความหดหู่ ถดถอย เซื่องซึม และหมดกำลังใจในการทำความดี
4) อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านกระวนกระวาย ร้อนใจ และกลุ้มกังวล
5) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ไม่อาจตัดสินใจอะไรได้
3. ปัญญาสิกขา การศึกษาเรื่องปัญญา อบรมตนให้เกิดปัญญาอย่างแจ่มแจ้งด้วย การบำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนสามารถไถ่ถอนความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา เป็นของเรา ออกไปได้

บัตรกิจกรรม ศูนย์การเรียนที่ 2
องค์ประกอบของไตรสิกขา
คำสั่ง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเติมเนื้อหาที่ถูกต้องลงในกรอบมโนทัศน์
องค์ประกอบของไตรสิกขา

บัตรเฉลย ศูนย์การเรียนที่ ๑

บัตรเฉลย ศูนย์การเรียนที่ 2
องค์ประกอบของไตรสิกขา

องค์ประกอบของไตรสิกขา

1. สีลสิกขา การศึกษาเรื่องศีล
2. จิตตสิกขา การศึกษาเรื่องจิต
3. ปัญญาสิกขาการศึกษาเรื่องปัญญา
1. กามฉันทะ ความพอใจในด้านรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส

บัตรเฉลย ศูนย์การเรียนที่ ๑

2. พยาบาท ความคิดร้ายนานาประการ
3. ถีนมิทธะ ความหดหู่ ถดถอย เซื่องซึม และหมดกำลังใจในการทำความดี
4. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านกระวนกระวาย ร้อนใจ และกลุ้มกังวล
5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ไม่อาจตัดสินใจอะไรได้

บัตรคำสั่ง ศูนย์การเรียนที่ 3
ประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา

คำสั่ง : ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ให้ผู้เรียนอ่านบัตรเนื้อหาที่เตรียมไว้ให้
2. ทำกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในบัตรกิจกรรม
3. ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย
4. เมื่อทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้วให้เก็บสื่อการสอนทุกชิ้นเข้าที่ให้เรียบร้อยก่อนจะย้ายไปเรียนที่ศูนย์อื่น

บัตรเนื้อหา ศูนย์การเรียนที่ 3
ประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา
ผู้ปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ย่อมได้รับประโยชน์ ดังต่อไปนี้
1. ย่อมก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม
2. ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน
3. ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของกันและกัน
4. มีความซื่อสัตย์สุจริต
5. จิตใจย่อมเบิกบาน
6. แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้
7. เป็นผู้มีจิตใจมั่นคงหนักแน่นในเหตุและผล

บัตรกิจกรรม ศูนย์การเรียนที่ 3
ประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา
คำสั่ง : ให้นักเรียนเขียนผังความคิดเรื่องประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาที่ถูกต้อง

บัตรเฉลย ศูนย์การเรียนที่ ๑
บัตรเฉลย ศูนย์การเรียนที่ 3
ประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา
ผังความคิดเรื่องประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา

ประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา

1. ย่อมก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม

2. ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน

7. เป็นผู้มีจิตใจมั่นคงหนักแน่นในเหตุและผล
3. ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของกันและกัน


บัตรเฉลย ศูนย์การเรียนที่ ๑

5. จิตใจย่อมเบิกบาน
4. มีความซื่อสัตย์สุจริต
6. แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้

แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
วิชาธรรมวินัย เรื่อง “ไตรสิกขา”

คำสั่ง : ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมายกากบาท (X) ทับตัวอักษรหน้าข้อที่ถูกที่สุดลงในกระดาษคำตอบ

1. การกระทำที่ทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติสบายกาย ใจ และทำให้โลกมีความสงบสุข เรียกว่า
ก. ไตรลักษณ์ ข. จิตตสิกขา
ค. สีลสิกขา ง. วิจิกิจฉา
2. การฝึกเพื่อบังคับความคิดให้เป็นไปตามที่เราต้องการให้มีความสามารถในการข่มใจ มีความอดทนในการต่อสู้กับกิเลส เรียกว่า
ก. จิตตสิกขา ข. ปัญญาสิกขา
ค. สีลสิกขา ง. ไตรสิกขา
3. การพิจารณาความคิด ความรู้สึกของตนเองจนเข้าใจดีตามสภาพความเป็นจริง หรือสามารถแก้ไขสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้อย่างสมเหตุสมผล เรียกว่า
ก. ปัญญาสิกขา ข. ไตรลักษณ์
ค. นิวรณ์ ง. จิตตสิกขา
4. สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรมหมายถึงข้อใด
ก. สังคหวัตถุ ข. นิวรณ์
ค. อิทธิบาท ง. ฆราวาสธรรม
5. ประโยชน์ของการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขามีกี่ประการ
ก. 4 ประการ ข. 5 ประการ
ค. 6 ประการ ง. 7 ประการ
6. การทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ตามสภาวะที่เป็นจริง โดยเน้นการมองเห็นอย่างนั้นจริง ไม่ใช่การคาดคำนวณเอาเอง เรียกว่า
ก. วิปัสสนากัมมัฏฐาน ข. ปัญญาสิกขา
ค. สมถกัมมัฏฐาน ง. นิวรณ์
7. การฝึกอบรมจิตให้มั่นคงเป็นสมาธิด้วยการบำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน จนสามารถบรรเทาหรือระงับนิวรณ์ได้ เรียกว่าอะไร
ก. ปัญญาสิกขา ข. สีลสิกขา
ค. จิตตสิกขา ง. ไตรสิขา
8. การฝึกอบรมตนให้เกิดปัญญาอย่างแจ่มแจ้งด้วย การบำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนสามารถไถ่ถอนความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา เป็นของเรา ออกไปได้ เรียกว่าอะไร
ก. ไตรสิกขา ข. ศีลสิกขา
ค. ปัญญาสิกขา ง. จิตตสิกขา
9. ความฟุ้งซ่านกระวนกระวาย ร้อนใจ และกลุ้มกังวล เรียกว่า
ก. วิจิกิจฉา ข. ถีนมิทธะ
ค. กามฉันทะ ง. อุทธัจจกุกกุจจะ
10. ความหดหู่ ถดถอย เซื่องซึม และหมดกำลังใจในการทำความดี เรียกว่า
ก. ถีนมิทธะ ข. วิจิกิจฉา
ค. พยาบาท ง. กามฉันทะ

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
วิชาธรรมวินัย เรื่อง “ไตรสิกขา”

1.

2.

3.

4.

5.

6.

7.

8.

9.

10.


เอกสารอ้างอิง

กองศาสนศึกษา กรมการศาสนา. (2537). นวโกวาท. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
. (2532). ธรรมวิภาคบรรยายสำหรับนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2547). การสร้างสื่อการสอนและนวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาผู้เรียน. ราชบุรี ฯ : บริษัทธรรมรักษ์การพิมพ์ จำกัด.